เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินก้อนแล้วไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร เชื่อว่าโรงรับจำนำคงเป็นสถานที่แรกที่หลายคนนึกถึง เพราะเป็นที่ที่เราสามารถนำของมีค่าอย่าง ทองคำ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ ไปจำนำเพื่อแลกกับเงินสดมาใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน เมื่อครบกำหนดเวลาก็นำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยไปไถ่ถอนทรัพย์สินคืนมา แต่แท้จริงแล้ว โรงรับจำนำยังมีรายละเอียดในการให้บริการที่มากกว่านั้น อีกทั้งโรงรับจำนำในแต่ละประเภทยังมีความแตกต่างกัน แต่จะมีเรื่องไหนบ้างที่เราควรรู้ก่อนไปใช้บริการ มาค้นหาคำตอบกันก่อนได้เลย
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1.โรงรับจำนำรัฐบาล
- สถานธนานุเคราะห์ ดำเนินกิจการโดยกรมประชาสงเคราะห์ ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในช่วงเริ่มแรกใช้เงินกู้จากธนาคารออมสิน ส่วนปัจจุบันดำเนินงานด้วยงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ โดยผู้จำนำหนึ่งรายสามารถจำนำทรัพย์สินรวมแล้วต้องไม่เกินวงเงิน 500,000 บาทต่อวัน
- สถานธนานุบาล ใช้เงินทุนจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาลและเงินกู้จากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล ดำเนินงานโดยเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นเทศพาณิชย์
2.โรงรับจำนำเอกชน ดำเนินงานด้วยเงินทุนของเจ้าของกิจการ หุ้นส่วน และเงินทุนหมุนเวียน ให้บริการในลักษณะห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด ได้รับความนิยมมากกว่าโรงรับจำนำของรัฐ เพราะให้ราคาสูงกว่า และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบริการให้เข้ากับยุคสมัย รวดเร็วและสะดวกต่อผู้ที่เข้ามาใช้บริการมากขึ้น
- เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน
- เงินต้น 5,001 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน
- เงินต้น 10,001 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
- เงินต้น 20,001 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
สำหรับสถานธนานุบาล จะจำกัดวงเงินรับจำนำต่อ 1 ราย และต่อสถานธนานุบาล 1 แห่งไว้ที่ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้น และมีอัตราดอกเบี้ยดังนี้
- เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน
- เงินต้น 5,001 บาท - 35,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
- เงินต้นเกิน 15,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
เจ้าของกิจการโรงรับจำนำเอกชนสามารถตั้งอัตราดอกเบี้ยในกิจการของตนได้เอง แต่ต้องไม่สูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำพ.ศ.2505 ดังนี้
- เงินต้นไม่เกิน 2,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน
- เงินต้นส่วนที่เกินจาก 2,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
ผู้ที่สามารถจำนำของได้จะต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีบัตรประจำตัวประชาชน และไม่ใช่ภิกษุสามเณร โดยสิ่งของที่นำไปจำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้และต้องไม่มีทะเบียน เช่น เพชร ทอง นาฬิกา แว่นตา กล้องถ่ายรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง และของใช้เบ็ดเตล็ดทุกชนิด ยกเว้นสิ่งของที่เป็นของราชการ ซึ่งโรงรับจำนำจะคิดดอกเบี้ยโดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มจำนำเป็นวันที่ 1 หากไม่เกิน 15 วันจะคิดดอกเบี้ยครึ่งเดือน และถ้าเกิน 15 วันจะคิดดอกเบี้ย 1 เดือน
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ โรงรับจำนำเอกชนหลายแห่งจึงเริ่มพัฒนาระบบโรงรับจำนำออนไลน์ขึ้น ปัจจุบันเว็บไซต์โรงรับจำนำหลายแห่งมีระบบคำนวณดอกเบี้ยให้ลูกค้าใช้งาน เพื่อให้เราประเมินความสามารถในการผ่อนชำระจากเงินต้น อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาผ่อนชำระเบื้องต้นก่อนที่จะไปติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่หน้าสาขานั่นเอง
นอกจากระบบคำนวณดอกเบี้ยตั๋วจำนำ การขายสินค้าหลุดจากโรงรับจำนำแบบออนไลน์ก็เป็นบริการยอดฮิตไม่แพ้กัน เพราะสินค้าหลุดจำนำที่เจ้าของไม่มาไถ่ถอนคืน หลาย ๆ ชิ้นยังเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง คุณภาพดี สามารถนำไปขายต่อได้ ถือว่าได้ประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย เพราะคนซื้อก็ได้ของดีราคาถูก ส่วนโรงรับจำนำก็สามารถลดหนี้เสียไปได้ด้วยเช่นกัน
สำหรับใครที่มองหาบริการโรงรับจำนำเอกชนที่มีบริการทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ให้ราคายุติธรรม สามารถประเมินราคาจำนำออนไลน์แบบรู้ผลไวก่อนได้เลยที่เว็บไซต์ Easy Money หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่โทร.02-113-1123 หรือจะไปใช้บริการสาขาทั่วประเทศก็สะดวก บริการประทับใจ