ในยุคที่เศรษฐกิจต้องชะงักเพราะพิษโควิดแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน คนทำธุรกิจ หรืออาชีพไหน ๆ ก็มีสิทธิ์ชักหน้าไม่ถึงหลังกันทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะหาทางจัดการเงินเก็บให้เพียงพอต่อทุกสถานการณ์แล้ว การตามหาแหล่งเงินที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องอย่างการเดินเข้าโรงรับจำนำเอกชนหรือของภาครัฐ รวมถึงการขอปรับวงเงินบัตรเครดิตก็จัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนเลือกใช้ เพราะ นอกจากจะสะดวกแล้ว การใช้บริการจากทั้งโรงรับจำนำและจากธนาคารยังเป็นบริการที่ถูกกฎหมาย และไม่เสี่ยงเหมือนกับเงินกู้นอกระบบ หรือ แหล่งเงินทุนนอกระบบอื่น ๆ อีกด้วย
ในเมื่อเป็นแบบนี้ หลาย ๆ คน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนและชาวออฟฟิศอาจจะพากันสงสัยว่า หากตอนนี้มีบัตรเครดิต แต่เงินเดือนยังไม่ออก แถมไม่มีรายได้เสริมจากช่องทางอื่น เราควรจะเลือกใช้วิธี “ขอเพิ่มวงเงินในบัตรเครดิต” หรือ “เข้าใช้บริการกับโรงรับจำนำ” เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินในระยะยาวกันแน่ หากมนุษย์เงินเดือนคนไหนกำลังสงสัย หรือตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้อยู่ มาไขข้อสงสัยไปพร้อม Easy Money เลย
สำหรับวัยทำงานและมนุษย์เงินเดือนแบบเรา ๆ การมีบัตรเครดิตคู่ใจสักใบก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถเพิ่มความสะดวกในการใช้จ่ายแทนการใช้เงินสดได้ อีกทั้งหากเลือกบัตรดี ๆ เรายังมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคะแนนที่สามารถนำมาซื้อของแทนเงินสด รวมถึงคะแนนที่สามารถนำมาแลกของสมนาคุณมากมาย และเมื่อถึงคราวที่การเงินเริ่มชักหน้าไม่ถึงหลังเมื่อไหร่ การเพิ่มวงเงินในบัตรเครดิตก็สามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องได้ไม่แพ้บริการอื่น ๆ
การจะเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับการเงินของตัวเองนั้น Easy Money ขอแนะนำให้ทุกคนลองพิจารณา 3 ปัจจัยที่ประกอบไปด้วย
1.ลักษณะนิสัยการใช้เงินของตัวเอง ก่อนที่จะตัดสินใจเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตกับธนาคาร ลองเช็กนิสัยการใช้เงินของตัวเองสักนิดว่า โดยปกติแล้ว เราใช้เงินกับสิ่งใดบ้าง ซื้อของที่ไม่จำเป็นบ้างไหม และอะไรทำให้เงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือนบ้าง ซึ่งถ้าหากเราไม่เช็กในจุดนี้ให้ดี ไม่แน่ว่าการเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตอาจยิ่งทำให้เราฟุ่มเฟือยและเกิดหนี้บัตรเครดิตจนส่งผลกระทบต่อประวัติเครดิตด้านการเงินอื่น ๆ ก็เป็นได้
2.เงื่อนไขของการเพิ่มวงเงิน การจะเพิ่มวงเงินในบัตรเครดิตได้นั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจเงื่อนไข “3 ต้อง” ดังนี้
- ต้องเป็นคนมีเครดิตดี ไม่มีประวัติการค้างชำระ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นลูกหนี้ที่ดีเสมอมา
- ต้องเลือกว่าจะเพิ่มวงเงินแบบชั่วคราวหรือแบบถาวร โดยการเลือกเพิ่มวงเงินแบบชั่วคราวนั้น สามารถใช้วงเงินใหม่ได้เพียง 30 - 50 วัน แล้วแต่เงื่อนไขของธนาคาร และจำเป็นที่จะต้องถือบัตรมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
- ต้องเข้าใจว่า แต่ละธนาคารมีขั้นตอนและเวลาในการดำเนินเรื่องไม่เหมือนกัน ในบางครั้ง บางธนาคารก็สามารถดำเนินเรื่องให้ได้ทันที ในขณะที่ธนาคารบางแห่งต้องให้เราเข้าไปทำเรื่องและยื่นเอกสารเอง แถมกว่าจะรออนุมัติก็ยังใช้เวลานาน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการไม่ผ่านการประเมินเพิ่มวงเงินอีกด้วย
3.ดอกเบี้ยของบัตรเครดิต นอกจากเงื่อนไขของการเพิ่มวงเงินแล้ว Easy Money ยังอยากให้มนุษย์เงินเดือนทุกคนลองทำความเข้าใจดอกเบี้ยของบัตรเครดิตก่อนตัดสินใจเพิ่มวงเงินดู โดยทั่วไปแล้ว ดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเรารูดบัตรจ่ายของด้วยเงินไม่เต็มจำนวน, การใช้บัตรเครดิตผ่อนของ, การเลือกจ่ายหนี้บัตรขั้นต่ำ และการชำระค่าบัตรเครดิตไม่ตรงเวลา โดยส่วนใหญ่ ดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะเฉลี่ยอยู่ที่ 16% - 18% ต่อปี ซึ่งหากเรายิ่งใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และจ่ายหนี้ที่ไม่ตรงเวลาบ่อย ๆ อัตราดอกเบี้ยก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากรู้ตัวว่าเป็นคนใช้เงินฟุ่มเฟือยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อย่าลืมพิจารณาดอกเบี้ยของบัตรเครดิตก่อนเพิ่มวงเงินด้วยนะ
ถึงการมีบัตรเครดิต หรือ การเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตจะมีข้อดีที่จะช่วยให้เราเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีข้อควรระวังเลย โดยเราต้องเข้าใจว่า จริง ๆ แล้วการเพิ่มวงเงินนั้นย่อมหมายถึงภาระค่าบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นต่อเดือนเช่นกัน ดังนั้น หากต้องการจะเพิ่มวงเงินจริง ๆ อย่าลืมคิดถึงลักษณะการใช้เงินของตัวเอง รวมถึง ความสามารถในการจ่ายค่าบัตรเครดิตงวดถัด ๆ ไปอีกด้วย
บัตรกดเงินสดนั้นเป็นบัตรที่ใช้เบิกถอนเงินสดได้ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติเท่านั้น สามารถกดเงินสดออกมาเกินวงเงินได้ แต่ก็จะมีดอกเบี้ย
ได้สูงถึง 28% เลยทีเดียว แต่บัตรเครดิตนั้นจะเป็นการรูดบัตรเพื่อชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และหากชำระค่าบัตรตรงเวลาก็จะไม่เสียดอกเบี้ย
การใช้บริการโรงรับจำนำนั้นจะแตกต่างจากการเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตโดยสิ้นเชิง โดยการจะเข้ามาใช้บริการได้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องนำสังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้มาให้ผู้เชี่ยวชาญของโรงรับจำนำตีราคา จากนั้นถึงค่อยตกลงจำนวนเงินอีกรอบ และสุดท้าย เราก็สามารถได้เงินสดออกมาใช้จ่ายหลังจากใช้บริการเสร็จทันที ซึ่งบริการจากทั้งโรงรับจำนำเอกชนหรือจากทางภาครัฐ รวมถึงโรงรับจำนำออนไลน์นั้นเป็นบริการเปลี่ยนของเป็นเงินสดที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการรับประกันของชัดเจนอีกด้วย
นอกจากจะสามารถเปลี่ยนของเป็นเงินสดได้ทันทีหลังตีราคาแล้ว การใช้บริการโรงรับจำนำยังสะดวกและมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น Easy Money ก็มี 3 ปัจจัยที่อยากให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจก่อนเลือกใช้บริการ ซึ่งประกอบไปด้วย
2.อัตราดอกเบี้ยของโรงรับจำนำ ดอกเบี้ยโรงรับจํานําเอกชนจะคิดดอกเบี้ยในมาตรฐานเดียวกัน โดยจะคิดดอกเบี้ย 2% จากเงินต้น 2,000 บาทแรก และหากทรัพย์สินมีมูลค่ามากกว่า 2,000 บาทขึ้นไปก็จะคิดดอกเบี้ยส่วนเกินจาก 2,000 บาทเพียง 1.25% ต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งหากใครสงสัยว่าจะคำนวณดอกเบี้ยของทางโรงรับจำนำได้อย่างไร สามารถคลิกที่นี่เพื่อลองคำนวณเบื้องต้นได้
ถึงจะช่วยให้ทุกคนได้รับเงินสดได้อย่างรวดเร็วก็จริง แต่ Easy Money ขอเตือนว่า โรงรับจำนำไม่ว่าจะของรัฐหรือเอกชนนั้นไม่ใช่ร้านหรือที่รับซื้อตั๋วจำนำ และไม่มีบริการรับซื้อตั๋วจำนำประเภทต่าง ๆ ดังนั้น หากพบเจอบริการรับซื้อตั๋วจำนำทองและสินค้าอื่น ๆ เราต้องพิจารณาดูให้ดีว่า การซื้อตั๋วนั้นมาในรูปแบบใด เป็นเงินกู้นอกระบบที่ให้เราปล่อยตั๋วและเปลี่ยนสถานที่ผ่อนของหรือไม่ ดังนั้น ต้องระวังให้มาก ๆ อย่าตัดช่องน้อยแต่พอตัวโดยไม่ดูรายละเอียดให้ดี มิเช่นนั้นอาจเป็นหนี้ก้อนใหญ่มากกว่าเดิมก็เป็นได้
ถ้าหากใครยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกใช้บริการเพิ่มวงเงินบัตรเครดิต หรือ ใช้บริการจากโรงรับจำนำเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินดี Easy Money ขอสรุปเป็นตารางเทียบความรายละเอียดของทั้ง 2 บริการ ดังนี้
สุดท้ายนี้ หวังว่าข้อมูลที่ Easy Money นำมาฝากจะช่วยให้คนวัยทำงานทุกคนได้เข้าใจและหาวิธีการเพิ่มสภาพคล่องที่เหมาะสมกับตัวเองได้ แต่ถ้าหากใครสนใจเข้ามาใช้บริการกับทางโรงรับจำนำเพื่อเปลี่ยนสิ่งของเป็นเงินสดได้ทันทีหลังตีราคา สามารถติดต่อใช้บริการได้ที่ Easy Money “เงินง่าย ได้ชัวร์” ทุกสาขา หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่