ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ช่วยให้เราทำทุกสิ่งได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน หรือการเข้าถึงความบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงการซื้อสินค้าและบริการผ่านออนไลน์ ที่เราสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ในขณะเดียวกัน ความสะดวกสบายนี้ ก็กลายเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพฉกฉวยมาใช้ เพื่อหลอกลวงให้เราเสียเงินโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบของโรงรับจำนำออนไลน์ ซึ่งเปิดเพจขายของปลอมบน Facebook เพื่อดึงดูดใจคนที่มองหาสินค้าราคาดี และใช้ภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือของโรงรับจำนำนั้น ๆ เพื่อชักชวนให้คนยอมจ่ายโดยง่าย
วันนี้ เราขอชวนคนรักการซื้อของออนไลน์ มารู้ทันมิจฉาชีพ ด้วย 4 วิธีตรวจสอบเพจปลอม ที่เราสามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อไม่ให้เราต้องตกเป็นเหยื่อ และต้องเสียเงินไปโดยไม่รู้ตัว
ขั้นตอนแรกในการเช็กเพจปลอม เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ก็คือการพิจารณาจากชื่อเพจและ URL โดยมิจฉาชีพมักตั้งชื่อเพจให้คล้ายคลึงกับเพจจริง แต่ด้วยความที่ไม่สามารถตั้งเหมือนกันได้ทุกตัวอักษร เพราะ Facebook ไม่อนุญาตให้มีการตั้งชื่อเพจซ้ำกัน มิจฉาชีพจึงมักเปลี่ยนตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่ง หรือเพิ่มเครื่องหมายพิเศษเข้ามาให้มีความแตกต่าง และใช้ URL ที่ดูแปลกตา ซึ่งอาจเป็น URL ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์เลยแม้แต่น้อย
อีกหนึ่งวิธีเช็กเพจปลอมที่สามารถทำได้ง่าย ๆ และช่วยแยกแยะเพจของมิจฉาชีพออกจากเพจจริงได้ ก็คือการตรวจสอบประวัติการเปลี่ยนชื่อเพจ ตามขั้นตอนดังนี้
๐ เข้าไปยังหน้าเพจต้องสงสัย กดที่เมนู "เกี่ยวกับ"
๐ กดที่เมนู "ความโปร่งใสของเพจ" และกด "ดูทั้งหมด"
ระบบจะแสดงประวัติการเปลี่ยนชื่อเพจทั้งหมด ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่า หากเป็นเพจจริง ชื่อที่แสดงจะเป็นชื่อของบริษัทหรือของแบรนด์ตั้งแต่แรก แต่หากเป็นเพจปลอม จะมีการเปลี่ยนชื่ออยู่หลายครั้ง และแต่ละครั้งจะเป็นชื่อที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
นอกจากการตรวจสอบประวัติการเปลี่ยนชื่อแล้ว เรายังสามารถเช็กเพจปลอมได้ด้วยการดูจากจำนวนผู้ติดตาม เพราะเพจขายของปลอมที่สร้างโดยมิจฉาชีพ มักจะมีจำนวนผู้ติดตามน้อย หรือไม่มีผู้ติดตามเลย นอกจากนี้ มิจฉาชีพยังใช้วิธีหลอกลวง ด้วยการใส่ตัวเลขผู้ติดตามปลอม ๆ ลงในช่องคำอธิบายเพจ ซึ่งเราจะต้องสังเกตจุดนี้ให้ดี เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของพี่มิจ
หลังจากที่ Facebook ได้มีการอัปเดตใหม่ ด้วยการใช้ "เครื่องหมายถูกสีฟ้า" หรือที่หลายคนเรียกว่า "ติ๊กฟ้า" เพื่อยืนยันว่าเพจนั้น ๆ เป็นเพจที่มีตัวตนอยู่จริง และผ่านการตรวจสอบจากทาง Facebook เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถใช้จุดนี้ในการแยกเพจขายของปลอมออกจากเพจจริงได้ แต่แน่นอนว่า มิจฉาชีพบางรายก็อาจพยายามเลียนแบบด้วยการใส่เครื่องหมายสีฟ้านี้ลงไปในรูปโปรไฟล์ ดังนั้น ก่อนที่จะโอนเงินไปให้ใคร ให้เราเช็กให้ดีก่อนว่า เป็นติ๊กฟ้าของจริง หรือเป็นแค่สิ่งที่ทำเลียนแบบขึ้นมา
ขั้นตอนสุดท้ายในการเช็กเพจมิจฉาชีพ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกได้ ก็คือการตรวจสอบช่องทางการติดต่อของเพจให้ละเอียด เพราะเพจมิจฉาชีพ มักจะใส่ที่อยู่ปลอม และเบอร์โทรศัพท์ปลอม ที่ไม่สามารถติดต่อได้จริง ในขณะที่เพจจริง จะมีการระบุรายละเอียดต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า แนะนำว่า ถ้าไม่แน่ใจว่าเพจที่เรากำลังพูดคุยด้วย เป็นเพจจริงหรือเพจปลอม ให้เราลองโทรเข้าไปตามเบอร์ที่ระบุไว้ทุกครั้ง ก่อนตัดสินใจซื้อ
ด้วยวิธีตรวจสอบเพจปลอมที่เรานำมาฝากกัน เชื่อว่าจะช่วยให้ทุกคนรู้ทันมิจฉาชีพกันมากขึ้น ซึ่งหากใครที่ได้รับความเสียหาย หรือเกิดความสงสัยว่ากำลังตกเป็นเหยื่อของโจรออนไลน์ สามารถแจ้งความได้ที่ ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com หรือ สายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง
และถ้าหากใครที่สนใจสินค้าหลุดจำนำมือสองของแท้ โดย Easy Money สามารถเลือกซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Easy Money Outlet ได้เลย เราคัดสรรสินค้าแบรนด์เนมมือสอง และสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย มาจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าได้อย่างมั่นใจ การันตีคุณภาพด้วยการรับประกันสินค้าทุกชิ้น
หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชัน Easy Money Outlet สามารถติดต่อสอบถามเราได้ที่ Call center: 02-113-1123 เรายินดีให้บริการ